จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ !


  • ไวรัสหลอกลวง - อีเมลที่มักบ่งบอกว่าเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่อย่างที่พูด ไวรัสหลอกลวงบางอย่างขอให้ผู้อ่านอีเมลกระทำตามขั้นตอนที่เป็นอันตราย เช่น ลบไฟล์สำคัญในเครื่องออก ไวรัสหลอกลวงส่วนใหญ่แพร่กระจายโดยผู้ที่ไม่ทราบว่าอีเมลนั้นเป็นอีเมลไวรัสหลอกลวง และผู้ที่หวังแจ้งเตือนผู้อื่นให้ทราบถึงไวรัสที่เป็นไปได้
  • ฟิชชิ่ง (การปลอมแปลงอีเมลหรือเว็บไซต์) - วิธีการที่ใช้เพื่อพยายามชักจูงให้ผู้ท่องอินเทอร์เน็ตเข้าสู่เว็บไซต์ที่มุ่งร้าย เมื่อเข้าไปที่เว็บไซต์นั้น อินเทอร์เน็ตเบราว์เซอร์จะพยายามอ่านโค้ดที่ผิดปกติบนเว็บเพจและทำให้เกิดช่องโหว่ความปลอดภัยขึ้น หรือตัวเว็บเพจนั้นได้ถูกออกแบบมาให้ดูเหมือนกับเว็บเพจที่เป็นที่นิยมอื่น (เพื่อรวบรวมข้อมูลบัตรเครดิตหรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น)
  • ช่องโหว่ความปลอดภัย - ความเปราะบางในซอฟต์แวร์ที่ยอมให้เกิดกิจกรรมที่ไม่ต้องการภายในระบบปฏิบัติการ
  • โทรจัน หรือ ม้าโทรจัน - โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่มักสร้างขึ้นเพื่อทำลายระบบรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์นี้มักดูคล้ายกับไฟล์ที่มีประโยชน์ที่ผู้ใช้จะต้องการเปิดดู การกระทำของโทรจันจะส่งไปที่เครื่องเมื่อเปิดไฟล์นั้นและมักสร้างผลลัพธ์ที่ก่อเกิดความเสียหายมากมาย โทรจันมักใช้เพื่อสร้างประตูหลัง (โปรแกรมที่ยอมให้ภายนอกเข้าถึงเครือข่ายที่มีความปลอดภัยได้) โทรจันมักถูกส่งมาเป็นสิ่งที่แนบในอีเมลหรือผ่านทางช่องโหว่ความปลอดภัยขณะท่องอินเทอร์เน็ต
  • ไวรัส - โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่คัดลอกตัวเองลงในโปรแกรมอื่น พื้นที่ว่างที่ซ่อนอยู่ในไดรฟ์ หรือรายการที่รองรับสคริปต์ ไวรัสส่วนใหญ่คัดลอกเฉพาะตัวมันเองเท่านั้น ในขณะที่ไวรัสส่วนน้อยปล่อยเพย์โหลด ซึ่งหมายถึงการกระทำที่ไวรัสทำให้เกิดขึ้น การกระทำนั้นอาจทำลายไฟล์ ส่งไฟล์โทรจัน ทำให้ฮาร์ดไดรฟ์เสียหาย แสดงข้อความ หรือเปิดไฟล์อื่น โดยปกติแล้ว การกระทำจะเกิดขึ้นเมื่อมีสภาวะบางอย่างเกิดขึ้น เช่น เมื่อวันที่ในคอมพิวเตอร์ถึงวันที่ระบุ
    ไวรัสข้ามสายพันธุ์ คือไวรัสที่ปรับแปลงจนมีความสามารถต่างจากสายพันธุ์เดิม โดยวิธีการนี้ จะสามารถสร้างไวรัสข้ามสายพันธุ์ได้ง่ายขึ้น และสามารถสร้างไวรัสรุ่นอื่น ๆ ได้อีกมาก
  • หนอนไวรัส - ไวรัสอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งค้นหาคอมพิวเตอร์ที่โจมตีได้ง่าย และคัดลอกตัวเองเข้าไปสู่ระบบของคอมพิวเตอร์นั้น วิธีการแพร่ที่ใช้บ่อยมากก็คือ แพร่จากรายชื่อกระจายอีเมล สคริปต์ลายเซ็นอีเมล และโฟลเตอร์ที่ใช้ร่วมกันบนเครือข่าย หนอนไวรัสอาจมีหรือไม่มีการกระทำที่เป็นอันตรายก็ได้ การกระทำตามปกติของหนอนไวรัสคือ ทำให้คอมพิวเตอร์เปราะบางต่อไวรัสและโทรจันอื่นมากขึ้น





การอัพเดตฐานข้อมูลของซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส
เนื่องจากมีไวรัสใหม่ ๆ เกิดขึ้นและถูกปล่อยออกมาบ่อยมาก คุณจึงควรอัพเดตไฟล์ฐานข้อมูลไวรัสสำหรับซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสเป็นประจำ ไฟล์ฐานข้อมูลไวรัสเป็นรายชื่อไวรัสที่รู้จัก ซึ่งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสใช้เพื่อค้นหาและกำจัดไวรัส ดำเนินการดังต่อไปนี้เพื่ออัพเดตฐานข้อมูลไวรัส:
  1. เปิดซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส
  2. คลิกปุ่มหรือรายการเมนูที่เขียนว่า update หรือ live update

การติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส
หากยังไม่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส HP แนะนำให้คุณติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส เนื่องจากไวรัสใหม่เกิดขึ้นและถูกปล่อยออกมาบ่อยมาก และหากไม่มีซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส ไฟล์และโฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์จะเสี่ยงภัยอย่างยิ่ง
คอมพิวเตอร์ที่มี Windows 7 และ Windows Vista จะมี Windows Defender ติดตั้งมาด้วย คอมพิวเตอร์ของ HP และ Compaq ส่วนใหญ่มีซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสรุ่นทดลองใช้งานฟรีติดตั้งมาด้วย รุ่นทดลองใช้งานเหล่านี้มักมีข้อจำกัดซึ่งสามารถอัพเดตข้อมูลให้ทันสมัยได้ตามช่วงเวลาที่ระบุเท่านั้น หลังจากครบตามช่วงเวลาดังกล่าว คอมพิวเตอร์ของคุณจะเปราะบางมากขึ้นและมีโอกาสถูกไวรัสและภัยคุกคามความปลอดภัยใหม่ ๆ โจมตี อัพเกรดหรือรีเฟรชการสมัครใช้งานเพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยอยู่เสมอและป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณได้ต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น Norton Internet Security มีการสมัครใช้งานบริการป้องกันไวรัสเป็นเวลา 60 วันฟรีสำหรับคอมพิวเตอร์ของ HP และ Compaq บางเครื่อง คุณสามารถดาวน์โหลดรายการข้อมูลไวรัสล่าสุด หรือที่เรียกว่า definitions จาก Live update เป็นเวลา 60 วัน เมื่อครบตามเวลาดังกล่าว คุณสามารถซื้อการต่ออายุการสมัครใช้งานจาก Symantec เพื่อป้องกันคอมพิวเตอร์จากไวรัสคุกคามล่าสุด


 การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล


1.การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลอย่างเป็นระบบเป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพราะจะช่วยให้บุคคลสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานต่างๆ ที่จะต้องทำได้เป็นอย่างดี สามารถจัดเก็บสารสนเทศที่จำเป็นเพื่อการค้นหาได้ทันทีที่ต้องการ และนำพาไปสู่ความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิต

2.ระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล ประกอบด้วย ฟังก์ชันการทำงานหลักสามฟังก์ชันหลัก ได้แก่ ฟังก์ชันนัดหมาย ฟังก์ชันติดตามงาน และฟังก์ชันติดต่อสื่อสาร
3.เทคโนโลยีระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลที่ดีจะต้องเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับสารสนเทศส่วนบุคคลได้อย่างสะดวก  รวดเร็ว และประหยัด โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ



         ความสำคัญและความหมายของการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
        1.ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนด้านสารสนเทศสำหรับบุคคลเป็นแนวคิดใหม่ที่ต้องอาศัยทักษะหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านการจัดการ ทั้งนี้เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการงานและการดำรงชีวิตในยุคการเปลี่ยนแปลงดังเช่นปัจจุบัน แนวคิดนี้เรียกว่า การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลให้ประสบความสำเร็จมีขั้นตอนการดำเนินการ
        2. ความหมายของการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล เป็นแนวคิดที่อาศัยทักษะหลายด้านในการดำเนินการกับสารสนเทศทุกประเภทที่แต่ละบุคคลได้รับ ทั้งที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการงานหรือการดำรงชีวิต เพื่อให้สามารถนำสารสนเทศที่สำคัญหรือจำเป็นต่อบุคคลนั้นออกมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
1. ระบบนัดหมายส่วนบุคคล
ระบบนัดหมายส่วนบุคคล หรือปฏิทินการทำงานส่วนบุคคลเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พบในระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลโดยทั่วไป  ระบบนี้มีลักษณะคล้ายสมุดนัดหมายส่วนบุคคลที่เป็นกระดาษที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี
2. ระบบนัดหมายกลุ่ม
ระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการนัดประชุม หรือที่เรียกว่าระบบนัดหมายกลุ่ม จัดเป็นพัฒนาการที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนัดหมายบุคคล การใช้งานของระบบนัดหมายกลุ่มจะบังเกิดผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยสองประการ ประการแรก สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องใช้ระบบนัดหมายส่วนบุคคลในการบริหารเวลาของตนเอง และระบบนัดหมายส่วนบุคคลนั้นควรเป็นระบบเดียวกัน





วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



สถิติการใช้อินเตอร์เน้ต ในปี 2556

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)  หรือ สพธอ. ได้เผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตปี 2556 นี้ โดยได้สำรวจจากทางเว็บไซต์และ Social Network โดยมีผู้ตอบมา  23,907 ราย โดยผู้ตอบ เป็นเพศชาย 48.7% เพศหญิง 52.2%   โดยผู้ตอบมาจาก กทม. 45.9% ต่างจังหวัด 54.1% มาดูกันว่าจากการสำรวจจำนวนมากนี้ มีพฤติกรรมการใช้เน็ตอย่างไรบ้าง ?

จากผู้ตอบสำรวจ 23,907 รายนี้ พบว่าส่วนใหญ่อยู่อายุ 40-49 ปี  (กลุ่มผู้ใหญ่ ) เป็นอันดับ 1   ส่วนอันดับ 2 เป็นช่วงอายุระหว่าง 30-34 ปี  และอันดับ  3 คือช่วงอายุ 25-29 ปี ซึ่งส่วนใหญ่จบใหม่ เข้าสู่วัยทำงาน


2.

หากเปรียบเทียบย้อนหลังเป็นรายปี พบว่า จำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2544
มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตน้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 53.6 แต่ในปี 2556 ผู้ใช้ในกลุ่มเดียวกันนี้ มีสัดส่วนลดลง เหลือเพียงร้อยละ 35.7    ในขณะที่สัดส่วนของผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สูงถึงร้อยละ 38.9 ซึ่งในปี 2544 มีเพียงร้อยละ 18.7 เท่านั้น  ซึ่งยอดการเติบโตผู้ใช้งาน Internet นี้ มาจาก การเชื่อมต่อแบบ Wifi
3.

จากผลสำรวจผู้ใช้อินเตอร์เน็ตว่าจะใช้งานอะไรบ้าง ที่ตอบมากที่สุดคือเช็คอีเมล  รองลงมาคือค้นหาข้อมูล ซึ่งหากดูกราฟแล้ว 2 อันดับแรกสูสีกันมาก



ตัวอย่างเว็บไซต์ E-commerce


1
http://www.olx.co.th/  เป็น E- Commerce ประเภท Consumer-to-Consumer (C2C)

2.
    https://www.pizza .co.th/       เป็น E- Commerce ประเภท Business-to-Business  (B2C) 
3.

     http://www.mkrestaurant.com/th 
เป็น E- Commerce ประเภท Business-to-Consumer   (B2C)

4.


        https://www.pizza.co.thเป็น E- Commerce ประเภท Business-to-Consumer (B2C)
5.


          http://www.pruksa.com/  เป็น E- Commerce ประเภท Business-to-Business  (B2B)
6.


     http://www.bangkokbank.com/เป็น E- Commerce ประเภท Government-to-citizen (G2C)

7.

       www.blogger.com/เป็น E- Commerce ประเภท Consumer-to-Consumer (C2C)
8.
http://www.chevrolet.co.th/cars/colorado/ เป็น E- Commerce ประเภท Consumer-to-Consumer (C2C)

9.
http://www.cultthai.coop/new/index.phpเป็น E- Commerce ประเภท Consumer-to-Business (C2B)

10.
                                         http://www.cafe-amazon.com/th/index.aspx

                            เป็น E- Commerce ประเภท Business-to-Consumer (B2C)



วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของ E-commerce


ประเทภของ E-Commerce
  1. ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
  2. ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือ การค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
  3. ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือ การติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
  4. ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัด ค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com
  5. ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ใน ที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย

องค์ประกอบของ E-commerce



องค์ประกอบหลักของระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย


1. เว็บเพจหรือร้านค้าบนเว็บ เพื่อที่จะสามารถประกาศขายสินค้าระบบอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงหน้าโฆษณาธรรมดาที่เอาไปฝากกับเว็บไซต์อื่นหรือร้านอื่นไว้ หรือมีชื่อร้านหรือเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เช่น www.siamgift.com เป็นต้น หน้าเว็บเพจสำหรับเสนอขายสินค้า บางทีเราเรียกกันว่า “หน้าร้าน” (Store Front)
2. ระบบตะกร้ารับสั่งซื้อ เป็นระบบที่สามารถคลิกเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากหน้าเว็บเพจได้ ซึ่งจะมีช่องไว้กรอกจำนวนสินค้าที่สั่งซื้อได้ โดยการคลิกซื้อแต่ละครั้งจะเป็นการหย่อนลงในตะกร้าหรือรถเข็น และสะสมไว้จนกว่าเราจะซื้อของครบ และตัดสินใจให้ระบบแคชเชียร์อัตโนมัติคำนวณเงิน (ระบบตะกร้ามีหลายรูปแบบ และสามารถปรับหรือออกแบบเฉพาะให้เหมาะกับกิจกรรมการค้าแต่ละประเภทได้)
3. Secure Payment System เป็นระบบคำนวณเงินและชำระเงินสินค้าที่ปลอดภัย โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต (ซึ่งในประเทศไทยปัจจุบันสามารถรับเงินผ่านเว็บด้วยบัตร Visa, AMEX, Master, SCB และ JCB ได้แล้ว) ซึ่งการโอนถ่ายข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตบนเครือข่ายจำเป็นต้องมีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการรั่วไหล ระบบที่ใช้กันมากในปัจจุบันคือ SSL (Secure Socket Layers) แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่ปลอดภัยมากนัก เพราะไม่สามารถระบุตัวผู้ถือบัตรได้ เนื่องจากระบบนี้บอกได้เพียงว่าร้านค้าคือใคร? ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาคือ SET (Secure Electronic Transaction) ซึ่งสามารถระบุตัวทั้ง 2 ฝ่ายว่าเป็นตัวจริงหรือไม่ แต่ยังติดปัญหาในเรื่องต้นทุนการลงทุนที่ค่อนข้างสูง จึงยังไม่แพร่หลาย

พาริชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 (อังกฤษElectronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce)  หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้


ข้อดี
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางไปซื้อสินค้า เพียงแค่เลือกซื้อผ่านเว็บไซต์เท่านั้น
  • ประหยัดเวลาในการติดต่อ แค่ใช้เวลาไม่นานแค่เพียงไม่กี่วินาทีเราก็สามารถติดต่อซื้อสินค้าได้
  • การเปิดร้านค้าในอินเทอร์เน็ตเป็นการขยายตลาดสู่ทั่วโลก ไม่จำกัดเฉพาะแค่ในประเทศ และยังทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการได้เลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น
  • ผู้ขายสามารถเปิดร้านได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด และผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้าได้ทุกวัน
ข้อเสีย
  • ผู้ซื้ออาจไม่แน่ใจว่าสั่งซื้อแล้วจะได้รับสินค้าจริง หรือได้รับสินค้าที่ไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือสินค้าชำรุดเสียหายหรือสูญหาย
  • สินค้าอาจเป็นสินค้าที่ไม่ผ่านการทดสอบ หรือสินค้าไม่มีคุณภาพ
  • เสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกง หรือถูกโกงราคาหรือถูกหลอกลวงได้ง่าย
  • ข้อมูลสินค้าบางอย่างอาจมีการโอ้อวดคุณภาพสินค้าเกินจริง โดยที่เราไม่สามารถตรวจสอบได้
  • ในระบบกฎหมายของไทย ยังไม่มีการให้ความคุ้มครองอย่างทั่วถึงเพียงพอ ความปลอดภัยในข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตจึงยังไม่ปลอดภัยพอ