จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ !


  • ไวรัสหลอกลวง - อีเมลที่มักบ่งบอกว่าเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่อย่างที่พูด ไวรัสหลอกลวงบางอย่างขอให้ผู้อ่านอีเมลกระทำตามขั้นตอนที่เป็นอันตราย เช่น ลบไฟล์สำคัญในเครื่องออก ไวรัสหลอกลวงส่วนใหญ่แพร่กระจายโดยผู้ที่ไม่ทราบว่าอีเมลนั้นเป็นอีเมลไวรัสหลอกลวง และผู้ที่หวังแจ้งเตือนผู้อื่นให้ทราบถึงไวรัสที่เป็นไปได้
  • ฟิชชิ่ง (การปลอมแปลงอีเมลหรือเว็บไซต์) - วิธีการที่ใช้เพื่อพยายามชักจูงให้ผู้ท่องอินเทอร์เน็ตเข้าสู่เว็บไซต์ที่มุ่งร้าย เมื่อเข้าไปที่เว็บไซต์นั้น อินเทอร์เน็ตเบราว์เซอร์จะพยายามอ่านโค้ดที่ผิดปกติบนเว็บเพจและทำให้เกิดช่องโหว่ความปลอดภัยขึ้น หรือตัวเว็บเพจนั้นได้ถูกออกแบบมาให้ดูเหมือนกับเว็บเพจที่เป็นที่นิยมอื่น (เพื่อรวบรวมข้อมูลบัตรเครดิตหรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น)
  • ช่องโหว่ความปลอดภัย - ความเปราะบางในซอฟต์แวร์ที่ยอมให้เกิดกิจกรรมที่ไม่ต้องการภายในระบบปฏิบัติการ
  • โทรจัน หรือ ม้าโทรจัน - โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่มักสร้างขึ้นเพื่อทำลายระบบรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์นี้มักดูคล้ายกับไฟล์ที่มีประโยชน์ที่ผู้ใช้จะต้องการเปิดดู การกระทำของโทรจันจะส่งไปที่เครื่องเมื่อเปิดไฟล์นั้นและมักสร้างผลลัพธ์ที่ก่อเกิดความเสียหายมากมาย โทรจันมักใช้เพื่อสร้างประตูหลัง (โปรแกรมที่ยอมให้ภายนอกเข้าถึงเครือข่ายที่มีความปลอดภัยได้) โทรจันมักถูกส่งมาเป็นสิ่งที่แนบในอีเมลหรือผ่านทางช่องโหว่ความปลอดภัยขณะท่องอินเทอร์เน็ต
  • ไวรัส - โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่คัดลอกตัวเองลงในโปรแกรมอื่น พื้นที่ว่างที่ซ่อนอยู่ในไดรฟ์ หรือรายการที่รองรับสคริปต์ ไวรัสส่วนใหญ่คัดลอกเฉพาะตัวมันเองเท่านั้น ในขณะที่ไวรัสส่วนน้อยปล่อยเพย์โหลด ซึ่งหมายถึงการกระทำที่ไวรัสทำให้เกิดขึ้น การกระทำนั้นอาจทำลายไฟล์ ส่งไฟล์โทรจัน ทำให้ฮาร์ดไดรฟ์เสียหาย แสดงข้อความ หรือเปิดไฟล์อื่น โดยปกติแล้ว การกระทำจะเกิดขึ้นเมื่อมีสภาวะบางอย่างเกิดขึ้น เช่น เมื่อวันที่ในคอมพิวเตอร์ถึงวันที่ระบุ
    ไวรัสข้ามสายพันธุ์ คือไวรัสที่ปรับแปลงจนมีความสามารถต่างจากสายพันธุ์เดิม โดยวิธีการนี้ จะสามารถสร้างไวรัสข้ามสายพันธุ์ได้ง่ายขึ้น และสามารถสร้างไวรัสรุ่นอื่น ๆ ได้อีกมาก
  • หนอนไวรัส - ไวรัสอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งค้นหาคอมพิวเตอร์ที่โจมตีได้ง่าย และคัดลอกตัวเองเข้าไปสู่ระบบของคอมพิวเตอร์นั้น วิธีการแพร่ที่ใช้บ่อยมากก็คือ แพร่จากรายชื่อกระจายอีเมล สคริปต์ลายเซ็นอีเมล และโฟลเตอร์ที่ใช้ร่วมกันบนเครือข่าย หนอนไวรัสอาจมีหรือไม่มีการกระทำที่เป็นอันตรายก็ได้ การกระทำตามปกติของหนอนไวรัสคือ ทำให้คอมพิวเตอร์เปราะบางต่อไวรัสและโทรจันอื่นมากขึ้น





การอัพเดตฐานข้อมูลของซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส
เนื่องจากมีไวรัสใหม่ ๆ เกิดขึ้นและถูกปล่อยออกมาบ่อยมาก คุณจึงควรอัพเดตไฟล์ฐานข้อมูลไวรัสสำหรับซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสเป็นประจำ ไฟล์ฐานข้อมูลไวรัสเป็นรายชื่อไวรัสที่รู้จัก ซึ่งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสใช้เพื่อค้นหาและกำจัดไวรัส ดำเนินการดังต่อไปนี้เพื่ออัพเดตฐานข้อมูลไวรัส:
  1. เปิดซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส
  2. คลิกปุ่มหรือรายการเมนูที่เขียนว่า update หรือ live update

การติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส
หากยังไม่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส HP แนะนำให้คุณติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส เนื่องจากไวรัสใหม่เกิดขึ้นและถูกปล่อยออกมาบ่อยมาก และหากไม่มีซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส ไฟล์และโฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์จะเสี่ยงภัยอย่างยิ่ง
คอมพิวเตอร์ที่มี Windows 7 และ Windows Vista จะมี Windows Defender ติดตั้งมาด้วย คอมพิวเตอร์ของ HP และ Compaq ส่วนใหญ่มีซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสรุ่นทดลองใช้งานฟรีติดตั้งมาด้วย รุ่นทดลองใช้งานเหล่านี้มักมีข้อจำกัดซึ่งสามารถอัพเดตข้อมูลให้ทันสมัยได้ตามช่วงเวลาที่ระบุเท่านั้น หลังจากครบตามช่วงเวลาดังกล่าว คอมพิวเตอร์ของคุณจะเปราะบางมากขึ้นและมีโอกาสถูกไวรัสและภัยคุกคามความปลอดภัยใหม่ ๆ โจมตี อัพเกรดหรือรีเฟรชการสมัครใช้งานเพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยอยู่เสมอและป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณได้ต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น Norton Internet Security มีการสมัครใช้งานบริการป้องกันไวรัสเป็นเวลา 60 วันฟรีสำหรับคอมพิวเตอร์ของ HP และ Compaq บางเครื่อง คุณสามารถดาวน์โหลดรายการข้อมูลไวรัสล่าสุด หรือที่เรียกว่า definitions จาก Live update เป็นเวลา 60 วัน เมื่อครบตามเวลาดังกล่าว คุณสามารถซื้อการต่ออายุการสมัครใช้งานจาก Symantec เพื่อป้องกันคอมพิวเตอร์จากไวรัสคุกคามล่าสุด


 การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล


1.การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลอย่างเป็นระบบเป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพราะจะช่วยให้บุคคลสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานต่างๆ ที่จะต้องทำได้เป็นอย่างดี สามารถจัดเก็บสารสนเทศที่จำเป็นเพื่อการค้นหาได้ทันทีที่ต้องการ และนำพาไปสู่ความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิต

2.ระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล ประกอบด้วย ฟังก์ชันการทำงานหลักสามฟังก์ชันหลัก ได้แก่ ฟังก์ชันนัดหมาย ฟังก์ชันติดตามงาน และฟังก์ชันติดต่อสื่อสาร
3.เทคโนโลยีระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลที่ดีจะต้องเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับสารสนเทศส่วนบุคคลได้อย่างสะดวก  รวดเร็ว และประหยัด โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ



         ความสำคัญและความหมายของการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
        1.ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนด้านสารสนเทศสำหรับบุคคลเป็นแนวคิดใหม่ที่ต้องอาศัยทักษะหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านการจัดการ ทั้งนี้เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการงานและการดำรงชีวิตในยุคการเปลี่ยนแปลงดังเช่นปัจจุบัน แนวคิดนี้เรียกว่า การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลให้ประสบความสำเร็จมีขั้นตอนการดำเนินการ
        2. ความหมายของการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล เป็นแนวคิดที่อาศัยทักษะหลายด้านในการดำเนินการกับสารสนเทศทุกประเภทที่แต่ละบุคคลได้รับ ทั้งที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการงานหรือการดำรงชีวิต เพื่อให้สามารถนำสารสนเทศที่สำคัญหรือจำเป็นต่อบุคคลนั้นออกมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
1. ระบบนัดหมายส่วนบุคคล
ระบบนัดหมายส่วนบุคคล หรือปฏิทินการทำงานส่วนบุคคลเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พบในระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลโดยทั่วไป  ระบบนี้มีลักษณะคล้ายสมุดนัดหมายส่วนบุคคลที่เป็นกระดาษที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี
2. ระบบนัดหมายกลุ่ม
ระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการนัดประชุม หรือที่เรียกว่าระบบนัดหมายกลุ่ม จัดเป็นพัฒนาการที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนัดหมายบุคคล การใช้งานของระบบนัดหมายกลุ่มจะบังเกิดผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยสองประการ ประการแรก สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องใช้ระบบนัดหมายส่วนบุคคลในการบริหารเวลาของตนเอง และระบบนัดหมายส่วนบุคคลนั้นควรเป็นระบบเดียวกัน